คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ Welcome To Kamonrat My Blog คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์



คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง

ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น  5  ส่วนคือ
ส่วนที1หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)   เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบ เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอรืทำงานตามความต้องการ ได้แก่
- แป้นอักขระ (Keyboard) 
-แผ่นซีดี (CD-Rom)
-ไมโครโฟน (Microphone) เป็นต้น
ส่วนที2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
ส่วนที่3 หน่วยความจำ  (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
ส่วนที่4 หน่วยแสดงผล(Output Unit) ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว
ส่วนที่5  อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ(Peripheral Equipment) เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (modem) แผงวงจรเชื่อมต่อ เครือข่าย เป็นต้น

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที จึงใช้ในงานคำนวณต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำงานได้ตลอด 24 ชั่งโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3. มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4. เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร
5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน

ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี  ระบบทะเบียนราษฎร์  ระบบทะเบียนการค้า  ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล เป็นต้น
      การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟแวร์ (Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
 3.ข้อมูล (Data)
 4.บุคลากร (Peopleware)

ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้  ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ
1.ส่วนประมวลผล (Processor)
2.ส่วนความจำ (Memory)
3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก (Input-Output Devices)
4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล (Storage Device)

ส่วนที่1 CPU
       CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง  มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวนผลและเปรียบเทียบข้อมูลโดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและแปลงให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความสามารถของ ซีพียู นั้น พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกา เป็นความเร็วของจำนวนรอบสัญญาณใน 1 วินาที มีหน่วยเป็น เฮิรตซ์(Hertz)เช่น สัญญาณความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที เทียบเท่าความเร็วสัญญาณนาฬิกา 1 จิกะเฮิร์ตซ์ (1GHz)

ส่วนที่2 หน่วยความจำ (Memory)จำแนกออกเป็น  2 ประเภท ดังนี้
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)

1.หน่วยความจำหลัก (Main Memory)เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ชุดความจำข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง โดยCPUทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและนำออกจากหน่วยความจำการทำงานของคอมพิวเตอร์ ต้องใช้พื้นที่ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผล และเก็บข้อมูลขนาดของความจุของหน่วยความจำคำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ที่สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวนพื้นที่คือจำนวนข้อมูล และขนาดของโปรแกรมที่สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุด พื้นที่หน่วยความจำมีมากจะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น

หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU  มีความหมายทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่าง คือ
1.ชิป (chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
2. ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่

1.หน่วยความจำหลัก แบ่งได้ 2  ประเภทคือหน่วยความจำแบบแรม (RAM)และหน่วยความจำแบบรอม”(ROM)
1.หน่วยความจำแบบ แรม (RAM=Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory)

1.2 หน่วยความจำแบบ รอม” (ROM=Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่าย ส่วนใหญ่ใช้เก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)

หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory Unit)หน่วยความจำสำรอง  หรือหน่วยเก็บข้อมูลรอง เป็นหน่วย
เก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วหน่วยความจำรองมีหน้าที่หลักคือ
1.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2.ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร
3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง

ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
      หน่วยความจำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำรอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป หน่วยความจำประเถทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ชิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำแบบแฟลช หน่วยความจำรองนี้ ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ  

ส่วนแสดงผลข้อมูล คือ ส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลาง
ให้เป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่  จอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์( Printer)เครื่องพิมพ์ภาพ Ploter และ ลำโพง (Speaker)  เป็นต้น

บุคลากรทางคอมพิวเตอร์(PEOPLEWARE) บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว หรือ หลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของ หน่วยงานคอมพิวเตอร์ 



ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)
1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน 
2.
 ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม 
3.
 ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ 

บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์
1.หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์(EDP Manager)
2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน(System Analyst หรือ SA)
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
4.
 ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์(Computer Operator)
5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator)

-นักวิเคราะห์ระบบงาน  
       ทำการศึกษาระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหม่            
-           -  โปรแกรมเมอร์               
            นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรม                    
-           -   วิศวกรระบบ                
            ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อมบำรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ                    
-           -พนักงานปฏิบัติการ               
          ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจประจำวัน ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์              
อาจแบ่งประเภทของบุคลากรคอมพิวเตอร์เป็นระดับต่างๆได้ 4 ระดับดังนี้
11. ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
22. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
33. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
44. ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ





















วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Assignment 2


Search Engine คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดย กรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีเวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมายก่ายกอง เพื่อให้เราเลือกข้อมูลที่เราโดนใจที่สุดเอามาใช้ งาน โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines
Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน
โดยมีองประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกันคือ
1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง ที่มีระบบการประมวลผล และการจัดอันดับที่เฉพาะเป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก
2. ซอฟแวร์ คือเครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Serch Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็ก ๆ (ชนิดที่เรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว) ทำหน้าที่ในการตรวจหา และ ทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบของการทำสำเนาข้อมูล เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine Robots

Crawler Based Search Engine ได้แก่อะไรบ้าง
 Google , Yahoo,MSNLiveSearchTechnorati (สำหรับ blog) ส่วนลักษณะการทำงานและการเก็บข้อมูลของ Web Crawler หรือ Robot หรือ Spider นั้นแต่ละแห่งจะมีวิธีการเก็บข้อมูลและการจัดอันดับข้อมูลที่ต่างกัน เช่น คุณทำการค้นหาคำว่า “Search Engine คืออะไรผ่านทั้ง 5 แห่งที่ผมให้ไว้จะได้ผลการค้นหาที่ต่างกัน
ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory
Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมากๆคล้ายๆกับสมุดหน้าเหลือง ซึ่งจะมีการสร้างดัชนี มีการระบุหมวดหมู่อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่างๆตามหมวดหมู่นั้นๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิงเพื่อหาข้อเท็จจริงได้ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมายหรือBlogมากมายที่มีเนื้อหาคล้ายๆกันในหมวดหมู่เดียวกันให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้อย่างตรงประเด็นที่สุด(ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา)
ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มากมายใช้เป็นฐานข้อมูล Directory
1. ODPหรือDmoz ที่หลายๆคนรู้จักซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engineหลายๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น GoogleAOLYahooNetscapeและอื่นๆอีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทยเราด้วยครับ (URL: http://www.dmoz.org )
2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย (URL: http://webindex.sanook.com )
3. Blog Directory อย่าง Blog Flux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ต่างๆหรือ Blog Directory อื่นๆที่สามารถหาได้จาก Make Many แห่งนี้
ประเภทที่ 3 Meta Search Engine
Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่างๆเป็นรูปแบบของTex Editorด้วยภาษาHTMLนั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บหรือบล็อกคำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ
ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บหรือบล็อกของตนเอง และอีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลายๆแห่งมาประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่างๆไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร มาถึงตอนนี้หลายๆท่านที่เคยสงสัยว่า “Search Engine คืออะไรคงได้หายสงสัยกันไปบ้างแล้วและเริ่มเข้าใจหลักการทำงานของ Search Engine กันมากขึ้น เพื่อจะได้เลือกใช้อย่างถูกต้องและตรงกับความต้องการของเราในการค้นหาข่าวสารข้อมูล สำหรับบทความ “Search Engine คืออะไรนี้หากขาดตกบกพร่องประการใด หรือ ไม่ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนท่านสามารถติชม หรือ ให้ข้อเสนอแนะต่างๆผ่าน Comments ของบทความชุดนี้เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงและแก้ไขให้ได้ข้อมูลที่ดีที่สุดและ เป็นประโยชน์สำหรับ ผู้ที่ทำการค้นคว้าข้อมูลต่างๆเพื่อนำไปใช้งาน

                                           ที่มา  : สิทธิศักดิ์   บุญมาก เขียน 30-09-2006

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังต่อไปนี้ คือ
1.เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ กล้องดิจิทัล กล้องถ่ายวีดิทัศน์ เครื่องเอกซเรย์
2.เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล คือ เป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานแสงหรือจานเลเซอร์ บัตรเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine)
3.เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
4.เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ พลอตเตอร์ ฯลฯ
5.เทคโนโลยีที่ใช้ในการทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6.เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโครตมนาคมต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง โทรเลข เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และระยะไกล

ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
 มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในรูปแบบต่างๆทั้งในทางธุรกิจ และทางการศึกษา ดังตัวอย่างเช่น
-ระบบเอทีเอ็ม
-การบริการและการทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ต
-การลงทะเบียนเรียน

พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร
       การแสดงออกทางความคิดและความรู้สึกในการใช้รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท ที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ภาพ ข้อความ หรือตัวอักษร ตัวเลขและภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

การใช้อินเตอร์เน็ต
      งานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาพบว่า  นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อความบันเทิง เนื่องจากเห็นว่ามีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ในขณะที่การใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ใช้เพื่อการเรียนรู้ การติดต่อข่างสารของสถาบัน

ใช้อินเตอร์ ทำอะไรได้บ้าง?
      งานวิจัยชี้ว่า นักศึกษาใช้อินเตอร์เน็ตในการสนทนากับเพื่อนๆและการค้นข้อมูลจากห้องสมุด
นอกจากนี้งานวิจัยยังชี้ว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่างๆเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และประกอบการทำรายงาน

สถานที่ที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
     งานวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช่คอมพิวเตอร์ที่บ้าน และมีการใช้อินเตอร์เน็ตที่ห้องสมุดของสถาบัน

นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการใช้หรือมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อย ในรูปแบบไหนบ้าง?
       งานวิจัยชี้ว่า นักศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้น้อย ได้แก่ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือe-Learning วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย ( video on Demand)หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
-การเรียนรู้แบบออนไลน์(e-Learning) เป็นการศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ต(Internet )หรืออินทราเน็ตเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่านเว็บเบราว์เซอร์(Web Browser)โดยผู้เรียนผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้ เช่นเดียวกับการเรียนรู้ปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยสำหรับทุกคน โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่(Learning for all : anyone, anywhere and anytime)
-บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction-CAI )หรือ (Computer Aided Instruction)คือบทเรียนคอมพิวเตอร์ซึ่งนำเสนอสารสนเทศที่ได้ผ่านกระบวนการสร้างและพิจารณามาเป็นอย่างดี โดยมีเนื้อหาวิชาหรือสารสนเทศ แบบฝึกหัด การทดสอบและการให้ข้อมูลป้อนกลับให้ผู้กลับให้ผู้เรียนได้ตอบสนองต่อบทเรียนได้ตามระดับความสามารถของตนเอง เนื้อหาวิชาที่นำเสนอจะอยู่ในรูปมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย อักษร รูปภาพ เสียง หรือทั้งภาพและเสียง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการนำหลักการเบื่องต้นทางจิตวิทยาการเรียนรู้มาใช้ในการออกแบบ โดยอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้ (Learning Behavior) ทฤษฏีการเสริมแรง (Reinforcement Theory )ทฤษฏีการวางเงื่อนไขปฏิบัติ(Operant Conditioning)ซึ่งถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองและการส่งเสริมแรงเป็นสิ่งสำคัญโดยจุดหมายนำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งอาศัยการสอนที่มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า เป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและมีผลย้อนหลังทันที่และเรียนรู้ไปทีละขั้นตอนอย่างเหมาะสมตามความต้องการและความสามรถของตน
-วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย(Video on Demand-VDO)คือ ระบบการเรียกดูภาพยนตร์ตามสั่งที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูภาพยนตร์หรือข้อมูลภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้ตามต้องการ ตามสโลแกนที่ว่าโดยสามารถใช้งานนี้ได้จากเครือข่ายสื่อ(Telecommunications Networks)ผู้ใช้งาน ซึ่งอยู่หน้าเครื่องลูกข่าย(Video Client)สามารถเรียนดูข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ทุกเมื่อตามต้องการและสามารถควบคุมข้อมูลวิดีโอนั้นๆโดยสามารถย้อนกลับ(Rewind)หรือหยุดชั่วคราว(pauswe)ได้เปรียบเสมือนการดูวิดีโอที่บ้านนั่นเองทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายไม่จำเป็นต้องดูข้อมูลเดียวกัน กล่าวคือสามารถดูภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน หรือต่างกันก็ได้
-หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(e-book)คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่านได้ทางอินเตอร์เน็ต โดยมีเครื่องมือที่จำเป็นในการอ่านหนังสือประเภทนี้คือ ฮาร์ดแวร์ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆพร้อมทั้งติดตั้งระบบปฏิบัติการหรืซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่านข้อความต่างๆตัวอย่างเช่น ออร์แกไนเซอร์แบบพกพา พีดีเอ เป็นต้น จะสามารถเลือกได้สี่รูปแบบ ส่วนการดึงข้อมูล e-book ซึ่งจะอยู่บนเว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านนี้มาอ่านก็จะใช้วิธีการดาวน์โหลดผ่านทางอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะของไฟล์ e-books หากนักเขียนหรือสำนักพิมพ์ จะต้องการสร้าง e-books สิ้นสุดการสนทนา คือ Hyper Text Markup Language (HTML),Portable Format (PDF),Peanut Markup Language (PML),และ Extensive Markup Language (XML)
-ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์(e-Library)เป็นแหล่งความรู้ที่บันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านสื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
       คุณลักษณะที่สำคัญของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์มีดังนี้ คือ
1.การจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์
2.ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์
3.บรรณารักษ์หรือบุคลากรของห้องสมุดสามารถแทรกการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดได้ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ได้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์
4.ความสามรถในการจัดเก็บ รวบรวมและนำส่งสารสนเทศสู่ผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์